3 เสาหลักแห่งอาเซียน

       "เรารู้จักสมาคมอาเซียนกันแล้วแต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนเสาหลักที่ช่วยค้ำจุนให้สมาคมอาเซียนมีรากฐานที่มั่นคงและจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลประโยชน์ที่ดีในทุกด้านซึ่งเรียกกันว่า 3 เสาหลักแห่งอาเซียน"

                   3เสาหลักแห่งอาเซียน


           ประชาคมอาเซียนมีส่วนประกอบสำคัญอีก 3 ประชาคมย่อย ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกับเป็น3 เสาหลักที่คอยเป็นรากฐานของประชาคมอาเซียนซึ่งแต่ละเสาหมายถึงแต่ละประชาคมย่อยนั้นมีความสำพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่ในทุกด้านของชีวิต ได้แก่

1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน( ASEAN Security Community - ASC )

      ประชาคมย่อยเสาที่หนึ่งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สงบสุข มีสันติภาพ ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างประเทศ มีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันเหตูร้ายต่างๆที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ

2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน( ASEAN Economic Community - AEC )

      ประชาคมย่อยในส่วนนี้ มุ่งเน้นในเรื่องของการให้ประชาชนในประเทศอาเซียนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมีสวัสดิการทางสังคมที่มีคุณภาพรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นรากฐานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในสมาชิกในอาเซี่ยนด้วยกัน

3.ประชาคมเศษรฐกิจอาเซียน( ASEAN Economic Community - AEC )

       ประชาคมย่อยสุดท้ายมีจุดมุ่งหมายไปที่ด้านการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้อาเซี่ยนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวรวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเป็นเสาหลัก ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิภาคมีความเจริญก้าวหน้าและเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการค้าขาย การลงทุน การพัฒนาแรงงาน การนำเข้า-ส่งออก เกิดขึ้นได้อย่างเสรีและทำให้ประเทศในสมาชิกอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันในเรื่องของการขายสินค้าและบริการกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆได้
           สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่ผู้นำอาเซียนมีความเห็นร่วมกันให้เกิดการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขาให้เป็นสาขานำร่อง โดยแบ่งให้แต่ละประเทศรับผิดชอบดูแลสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไป ได้แก่

ไทย : การท่องเที่ยวและการบิน














มาเลเซีย : สิ่งทอและยาง 












พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง 












สิงคโปร์ : เทคโนโลยัสารสนเทศและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องและการบริการด้านสุขภาพ



ฟิลิปปินส์ : อิเล็กทรอนิกส์ 















อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้


         ในปี2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC Blueprint )
ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินการของ AEC ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
           1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
           2. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศษรฐกิจที่เท่าเทียมกัน
           3. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันขั้นสูง
           4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศษรฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         โดย AEC Blueprint นั้นจะใช้เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศษรฐกิจ เพื่อให้ทุกประเเทศสมาชิกได้เห็นภาพรวมในการเข้าสู่ประชาคมเศษรฐกิจอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศษรฐกิจในด้านต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนิมาตรการจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2558
           ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากของไทยที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ปี 2558 ซึ่งประเทศในสมาชิกอาเซียนได้เข้าสู่สมาคมการเป็นประชาคมเศษรฐกิจอาเซียน ( AEC ) อย่างเป็นทางการนั้นมีหลายด้านที่เราต้องให้ความสนใจและใส่ใจ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด ไม่ว่าจะเป็น



       -ไทยจะเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและการบิน การคมนาคม การจัดการประชุม การแสดงนิทรรศการ ฯลฯ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้อุตสาหกรมการท่องเที่ยว โรงแรมต่างๆมีความคึกคักมากขึ้น
                -ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในประเทศอาเซียน 10 ประเทศนั้น ต่างก็มีภาษาของตนจึงไม่สามารถใช้ภาษาของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียนได้ ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางใน AEC ที่จะใช้ในการสื่อสารกับประชากรของประเทศสมาิชกอื่นๆ ในอาเซียน
             
               -การค้าขายจะขยายตัวมากขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมบางประเภทเช่น การท่องเที่ยว การคมนาคม เป็นต้น
              -ไม่มีการจัดเก็บภาษีข้ามแดน หรือที่เรียกว่าภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีการค้าขายสินค้ากันอย่างสะดวกมากขึ้น


           นับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้งอาเซียนมา ก็ได้มีความร่วมมือกันในด้านต่างๆ อาเซียนทำให้เกิดความร่วมมือกันในหลายๆด้านเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศษรฐกิจ สังคม วัฒนธรรมให้มากขึ้นโดยมี 3 เสาหลักเป็นเป้าหมายสำคัญคือ
        - ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Plitical Security Community : APSC )
        - ประชาคมเศษรฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community : AEC )
        - ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN Socio-Cuitural Commumity :ASCC )
     ซึ่งอาเซียนจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบและเป็นทางการใน วันที่ 1 มกราคม 2558 ที่จะมาถึงนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น